เมื่อพูดถึงนักจิตวิทยา ถ้าเป็นช่วง 10 ปีก่อน คนไทยส่วนใหญ่มักจะจัดให้นักจิตวิทยาอยู่ในกลุ่มของผู้มีญาณทิพย์ แบบว่าสามารถอ่านใจคนได้อะไรประมาณนั้น และสามารถพบเจอได้ที่โรงพยาบาล จิตเวชเท่านั้น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทัศนคติของคนไทยก็เปิดกว้างมากขึ้นค่ะ และเป็นที่น่ายินดีว่า หลายองค์กรมีนักจิตวิทยาอยู่ประจำองค์กรแล้ว ทั้งในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชน ซึ่งเราจะมาดูกันค่ะว่า องค์กรที่มีนักจิตวิทยาอยู่ประจำองค์กรนั้น มีความได้เปรียบมากกว่าองค์กรที่ไม่มีนักจิตวิทยาอย่างไรกันค่ะ
เมื่อพูดถึงนักจิตวิทยา ถ้าเป็นช่วง 10 ปีก่อน คนไทยส่วนใหญ่มักจะจัดให้นักจิตวิทยาอยู่ในกลุ่มของผู้มีญาณทิพย์ แบบว่าสามารถอ่านใจคนได้อะไรประมาณนั้น และสามารถพบเจอได้ที่โรงพยาบาล จิตเวชเท่านั้น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทัศนคติของคนไทยก็เปิดกว้างมากขึ้นค่ะ และเป็นที่น่ายินดีว่า หลายองค์กรมีนักจิตวิทยาอยู่ประจำองค์กรแล้ว ทั้งในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชน ซึ่งเราจะมาดูกันค่ะว่า องค์กรที่มีนักจิตวิทยาอยู่ประจำองค์กรนั้น มีความได้เปรียบมากกว่าองค์กรที่ไม่มีนักจิตวิทยาอย่างไรกันค่ะ

1. พนักงานภายในองค์กรมีสุขภาพจิตดีมากขึ้น
โดยปกติแล้ว เราทุกคนจะมีความเครียดจากการทำงานกันเป็นปกติอยู่แล้วใช่ไหมคะ และวิธีระบายออกยอดนิยมก็คือ การเมาส์มอยกับเพื่อนร่วมงาน แต่นั่นละค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะได้บ่นออกไป แต่ความเครียดมันก็วนกลับมาและสะสมเรื้อรัง และอาจรุนแรงถึงขึ้นทำให้เป็นโรคเครียด โรคซึมเศร้า และอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่นได้อีก ดังนั้น หากมีนักจิตวิทยาประจำองค์กร เมื่อพนักงาน ขององค์กรเกิดความเครียด พนักงานก็สามารถเดินเข้าไปขอรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาได้เสมอเลยค่ะ และถ้านักจิตวิทยาประเมินแล้วเห็นว่ามีอาการเครียดรุนแรง หรือมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคจิตเวชอื่น ๆ นักจิตวิทยาก็สามารถประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือพนักงานได้อย่างรวดเร็วเลยละค่ะ และเมื่อพนักงานมีนักจิตวิทยาคอยดูแลจิตใจอย่างใกล้ชิด สุขภาพจิตก็จะแข็งแรง มีสติ สมาธิ ปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ มาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
*บทความแนะนำ “9 สัญญาณคุณโดน “Bully” ในที่ทำงาน”
2. Put the right man on the right job
ในทุก ๆ องค์กร จะมีแผนกหนึ่งที่มีหน้าที่ในการคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร ก็คือ Human Resource (HR) หรือแผนกทรัพยากรบุคคลค่ะ ซึ่งโดยมาตรฐานแล้วควรจะเป็นคนที่จบการศึกษา ในสายจิตวิทยาองค์กร หรือจิตวิทยาอุตสาหกรรม เพราะว่าถ้าเป็นคนที่จบจิตวิทยาโดยตรงจะมีทักษะ วิธีการ และเครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงานค่ะ และเมื่อองค์กรมีพนักงาน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ บุคคลนั้นก็จะมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงาน สามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถพัฒนาความสามารถในการทำงานเพื่อให้งานออกมา ตรงตามที่องค์กรต้องการค่ะ
3. มีการพัฒนาศักยภาพพนักงานอย่างเหมาะสม
เมื่อองค์กรสามารถ Put the right man on the right job ได้เหมาะสมแล้ว ประโยชน์ต่อองค์กรและพนักงานที่ตามมา ก็คือ นักจิตวิทยาสามารถแนะนำคอร์ส หรือจัดคอร์สฝึกอบรมที่ช่วยเพิ่มพูนความสามารถ และส่งเสริมศักยภาพของพนักงานได้ตรงตามความต้องการของพนักงาน และเหมาะสม กับตำแหน่งของพนักงาน ซึ่งการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมนี้จะไปช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิผลได้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรได้ค่ะ
4. มีการปรับปรุงลักษณะงานของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้เหมาะสม และเกิดความรู้สึกภูมิใจในงาน
หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของนักจิตวิทยาองค์กร ก็คือ การปรับปรุงลักษณะงาน ของแต่ละตำแหน่งให้มีความเหมาะสม โดยการสำรวจ ศึกษา และวิจัย และสรุปออกมาเป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงในระดับนโยบายขององค์กร และนำมาพัฒนาลักษณะงานของแต่ละตำแหน่งให้มีความ “ง่าย” ในการปฏิบัติมากขึ้น มีความ “สะดวก” ในการทำงานมากขึ้น มี “ความสุข” ในการอยู่กับงานมากขึ้น และทำให้พนักงานที่ปฏิบัติงานรู้สึก “มีคุณค่า” มากขึ้น และมีความภูมิใจที่ได้ทำงานของเขามากขึ้น
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
นอกจากการเพิ่มความสุขในการทำงาน การช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานแล้ว นักจิตวิทยาองค์กรยังมีหน้าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งสิ่งแวดล้อมในที่นี้หมายความถึงสถานที่ทำงาน บรรยากาศ ในการทำงานเพื่อร่วมงาน อุปกรณ์ในการทำงาน รวมถึงกฎระเบียบในการทำงานด้วย เพื่ออำนวย ความสะดวกในการทำงานให้พนักงาน และส่งเสริมให้พนักงานได้ใช้ความสามารถในการทำงาน ได้อย่างเต็มที่ แล้วประสิทธิภาพในการทำงานจะเพิ่มมากขึ้นโดยอัตโนมัติค่ะ
6. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรม
ปัญหาใหญ่ที่กินใจพนักงานในหลาย ๆ องค์กร ก็คือ ผลการประเมินการเลื่อนเงินเดือน ซึ่งปัญหามักเกิดจากการประเมินที่ “คุณค่าของคนอยู่ที่คุณเป็นคนของใคร” มากกว่าคุณค่าของผลงานจริง ๆ แต่ถ้าหากองค์กรมีนักจิตวิทยาประจำองค์กร นักจิตวิทยาก็จะมีแนวทางการประเมินที่เหมาะสม โดยการออกแบบการประเมินจากทฤษฎี หรือนำเครื่องมือที่มีมาตรฐานมาใช้ในการประเมินพนักงานเพื่อเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน โดยมีเกณฑ์ที่ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งความยุติธรรมนี่เองค่ะสามารถทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกถึงความเท่าเทียม และมีความเคารพในการตัดสินใจของผู้บริหารค่ะ
7. พนักงานมีความผูกพัน และพึงพอใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
เมื่อองค์กรสามารถทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีความภาคภูมิใจในการทำงาน และมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม พนักงานจะมีความพึงพอใจที่จะทำงานให้กับองค์กร และมีความผูกพันกับองค์กร ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการขาด ลา มาสาย และลาออกของพนักงานได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเป็นทีม เพิ่มแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานของพนักงานได้อีกด้วยค่ะ
8. เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
นอกจากนักจิตวิทยาองค์กรจะสามารถช่วยทำให้พนักงานมีสุขภาพจิตดี มีศักยภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้น และองค์กรมีประสิทธิผลตามเป้าหมายที่วางไว้ได้แล้ว นักจิตวิทยาองค์กรยังสามารถ ช่วยองค์กรในเรื่องการเข้าถึงลูกค้าด้วยทักษะทางการวิจัย และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางจิตวิทยาค่ะ เช่น การวิจัยทางการตลาด การนำผลการวิจัยมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตัวเดิม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ การจัดโปรโมชั่นที่โดนใจลูกค้า เป็นต้น
*บทความแนะนำ “3 ทักษะทางจิตวิทยาที่ทำให้นักทรัพยากรมนุษย์ (HR) โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมอาชีพคนอื่น”
ทั้งนี้ หากองค์กรใดสนใจที่จะมีนักจิตวิทยาองค์กรอยู่ประจำองค์กร แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ทาง iSTRONG ของเรามีแพคเก็ตบริการให้คำปรึกษาสำหรับพนักงานในองค์กรด้วยนะคะ หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ https://www.istrong.co/contact นะคะ
ประวัติผู้เขียน :
จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยา ในการปฏิบัติงานมากว่า 6 ปี
You must log in to post a comment.