มารู้จักโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) กันเถอะ
โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน กระทบกับการใช้ชีวิต และความสัมพันธ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการทำงานอีกด้วย
มารู้จักโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) กันเถอะ
โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน กระทบกับการใช้ชีวิต และความสัมพันธ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการทำงานอีกด้วย

โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร ?
โรคสมาธิสั้น เกิดจากสารโดพามีน (dopamine) ในสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งโรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและจะสืบต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ซึ่งโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.โรคสมาธิสั้นที่มีอาการมาตั้งแต่เด็ก แต่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี พอโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ อาการของโรคจะถือว่าค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถใช้ชีวิตได้ปกติตามวัย แต่ในบางคนก็อาจจะมีอาการของโรคสมาธิสั้นหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ขี้หงุดหงิด เครียดง่าย ขี้โมโห หรือมีเรื่องกับญาติพี่น้องและเพื่อนร่วมงานบ่อย ๆ ทำให้ต้องเปลี่ยนงานอยู่เรื่อย ๆ รวมทั้งอาจมีนิสัยชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอีกด้วย
2.การเลี้ยงดู ที่ได้รับความกดดันจากผู้ใกล้ชิด ทำให้มีพัฒนาการที่ช้าลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นผู้มีอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
3.การที่วัยเด็กมีนิสัยที่ดูก้าวร้าว อันธพาล ชอบความรุนแรง โดยที่ทุกคนเข้าใจไปว่าเป็นแค่นิสัยปกติเท่านั้น ทำให้ไม่ไดรับการดูเเลที่ถูกต้อง ปล่อยปะละเลยผ่านไป ส่งผลให้โตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาชีวิต มีปัญหาการเข้าสังคม รวมทั้งไม่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน
สังเกตอาการตัวเอง เราเข้าข่ายโรคสมาธิสั้นรึเปล่า ?
• ชอบมีอาการขาดสมาธิ ขาดความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ
• ชอบพูดโพล่ง พูดแทรกในระหว่างที่คนอื่นพูด ไม่ชอบการทนอยู่เงียบ ๆ
• หลงลืมนั่นนี่เป็นประจำ
• อารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย หายเร็ว
• ใจร้อน ไม่มีความอดทน เบื่อง่าย
• จัดการกับความเครียดไม่ได้ หรือจัดการได้ไม่ดี
• มักทำงานผิดพลาดอยู่เสมอ ๆ
• มีปัญหาเรื่องการจัดการ การจัดลำดับความสำคัญ และการบริหารเวลา
• เริ่มทำงานใหม่โดยที่งานเดิมยังทำไม่เสร็จ ทำงานได้ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
หากมีลักษณะอาการตรงตามที่กล่าวมา คุณอาจจะกำลังเป็นโรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ก็ได้
แต่ยังไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป โรคนี้สามารถแก้ไขได้ หากเราตั้งใจ สร้างวินัย ปรับพฤติกรรมใหม่ รวมไปถึงการดูเเลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ อย่างถูกวิธี
วิธีปฎิบัติตัว เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองกำลังมีอาการสมาธิสั้น
1.เข้าใจและยอมรับตัวเองกับสิ่งที่ตัวเองกำลังเป็น ไม่ใจร้อน ไม่กดดันตัวเองจนเกินไปว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนไปในทันที เปลี่ยนพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและทำมันให้เป็นเรื่องสนุก
2.ฝึกการสนใจ ลงมือทำทีละอย่าง ไม่ทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ระหว่างนั่งทานข้าวไม่เล่นโทรศัพท์มือถือไปด้วย โฟกัสที่การทานข้าวอย่างเดียว หรือ ทำงานให้เสร็จทีละงาน เป็นชิ้นเป็นอัน และทำทันที อย่ารอ! ซึ่งในแต่ละวันเราอาจจะทำเช็คลิสไว้ก่อนก็ได้ ว่าวันนี้เราจะทำงานไหนให้เสร็จ งานไหนทำก่อนทำหลัง วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้เราโฟกัสงานได้ทีละอย่างเเล้ว ยังสามารถช่วยเรื่องการแบ่งเวลาได้อีกด้วย
3.รู้จัก สังเกตอารมณ์ของตัวเราเเละคนใกล้ตัว ให้มากขึ้น รู้จักรอคอย รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อลดปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้รู้จักเท่าทันอารมณ์ของตัวเองอีกด้วย
การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า ทางที่ดีควรรีบพบจิตแพทย์ เพื่อทำการประเมิน วินิจฉัย และให้การรักษาอย่างถูกต้องต่อไป การรักษาโรคสมาธิสั้นนั้นสามารถรักษาได้ด้วยหลายวิธี
1.การรักษาด้วยยา ทั้งนี้ การรับประทานยาจะอยู่ภายใต้การวินิจฉัยและกำกับดูแลโดยจิตแพทย์ เพราะโรคนี้เกิดจากสารเคมีในสมองส่วนหน้าไม่สมดุล การกินยาจะช่วยทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้น และสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น
2.การปรับพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา ซึ่งต้องทำอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าสามารถควบคุม ตนเองให้ทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ ลุล่วง เช่น การจดรายละเอียดของงานต่างๆ ด้วยการติดป้ายหรือโน๊ต. เล็กๆเพื่อเตือนความจำอยู่เสมอ นอกจากนี้การเรียนรู้ทักษะการฝึกอารมณ์ให้มีความอดทนรอคอยให้. ได้ระยะนานขึ้นเรื่อย ๆ หรือการบำบัดจากวิธีต่าง ๆ เช่น การใช้ดนตรีบำบัด การฝึกคิด จินตนาการ การวาดภาพ ระบายสีเป็นต้น
โดยส่วนใหญ่จะรักษาหาย สามารถกลับมา ควบคุมอาการ อารมณ์ของตัวเองได้ กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติไม่กระทบการทำงานและการดำเนินในชีวิตประจำวันอีก หากเจ้าตัวตั้งใจ มีวินัยในการดูเเล รักษา อย่างจริงจังและถูกวิธี
ผู้เขียน
พิชญาพร วิสุทธิ์มิตรนาคร
B.Sc. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักให้คำปรึกษา และนักสร้าง Engagement กับลูกค้า
You must log in to post a comment.